เครื่องคำนวณวิถีกระสุนและระบบสั่งการระยะไกลของปืน 155 มม.


หน่วยเจ้าของโครงการ
นายทหารโครงการ
ระยะเวลาดำเนินการ โรงเรียนนายเรือ (รร.นร.)
น.อ.สุทธิไชย รังสิโรดม์โกมล
งป.38-42 (5 ปี)
บทคัดย่อ

กองทัพเรือได้จัดซื้อปืนใหญ่วิถีโค้ง ขนาด 155 มม. ให้กับ หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง (สอ./รฝ.) เพื่อสนับสนุนภารกิจหลักในการรักษาฝั่ง คือ การยิงทำลาย/รบกวนเรือ หรือกระบวนเรือ การนำปืนใหญ่สนามมายิงเป้าหมายเคลื่อนที่ตลอดเวลา ทำให้การคำนวณวิถีกระสุนด้วยเจ้าหน้าที่ศูนย์อำนวยการยิง (ศอย.) ต้องทำด้วยความรวดเร็ว ถูกต้อง และสั่งยิงได้ทันเวลา ซึ่งยากต่อการปฏิบัติในสถานการณ์จริง การคำนวณและการสั่งการอย่างรวดเร็วด้วยเจ้าหน้าที่ ศอย. ตามลำพังมักเกิดข้อผิดพลาดได้ง่าย

การวิจัยและพัฒนานี้มีจุดมุ่งหมายในการนำเทคโนโลยีด้าน คอมพิวเตอร์ และการสื่อสารข้อมูล มาใช้ในการพัฒนาอุปกรณ์ต้นแบบของเครื่องคำนวณวิถีกระสุน และระบบสั่งการระยะไกลของปืน 155 มม. ซึ่งประกอบด้วยระบบฐานข้อมูลสำหรับจัดเก็บตารางปืนทั้งหมด พร้อมโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่สามารถคำนวณวิถีกระสุนได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว โดยผลลัพธ์ของการคำนวณจะถูกส่งผ่านคลื่นวิทยุไปแสดงผลที่เครื่องวิทยุติดตามตัว (Pager) ของเจ้าหน้าที่ตามหมู่ปืนต่าง ๆ อย่างอัตโนมัติและทันการ ผลการทดสอบโดยนำอุปกรณ์ต้นแบบไปใช้งานจริง ปรากฏว่าสามารถลดเวลาการปฏิบัติและการสั่งการในการยิงปืนแต่ละครั้งได้น้อยกว่าสองเท่า และสามารถลดข้อผิดพลาดของการคำนวณและการสั่งการได้อย่างชัดเจน

วัตถุประสงค์
เพิ่มความเร็ว และ ความถูกต้องในการคำนวณวิถีกระสุนปืน 155 มม. โดยใช้เครื่องคำนวณ
ให้ได้ระบบต้นแบบที่สามารถส่งคำสั่งยิงไปยังหมู่ปืนต่าง ๆ ด้วยความเร็วและถูกต้อง
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
ต้นแบบเครื่องคำนวณวิถีกระสุนของปืนใหญ่ขนาด 155 มม. ซึ่งสามารถแก้ปัญหาและเพิ่มประสิทธิภาพในการคำนวณหาวิถีกระสุนต่อเป้าหมายเคลื่อนที่ตลอดเวลา
ต้นแบบระบบส่งคำสั่งยิงชนิดไร้สาย และเครื่องแสดงคำสั่งยิงชนิดวิทยุติดตามตัว ซึ่งสามารถแก้ปัญหาและเพิ่มประสิทธิภาพในการติดต่อระหว่างศูนย์อำนวยการยิงกับหมู่ปืนต่าง ๆ
ผู้ทรงคุณวุฒิและคณะกรรมการพิจารณาความถูกต้องผลงานวิจัยฯ ได้ทำการประเมินโครงการแล้ว ผลการประเมินเอกสารมีเกณฑ์เฉลี่ย 3.1 อยู่ในระดับดี และจากการแถลงผลโครงการ สรุปได้ว่าผลงานวิจัยสามารถแก้ปัญหาและเพิ่มประสิทธิภาพในการคำนวณหาวิถีกระสุนของ สอ./รฝ. ได้เป็นอย่างดี รวมทั้งสามารถแก้ปัญหาความผิดพลาดในการติดต่อสื่อสารระหว่างเจ้าหน้าที่ศูนย์อำนวยการยิงกับเจ้าหน้าที่ประจำหมู่ปืนต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งนับว่ามีความคุ้มค่าและเกิดประโยชน์โดยตรงต่อ ทร. และยังสามารถนำไปขยายผลใช้กับปืนใหญ่ชนิดอื่น และ ของ ทบ. ได้อีกด้วย นอกจากนี้คณะกรรมการฯ มีความเห็นว่าผลงานวิจัยดังกล่าว สามารถนำไปใช้งานได้ทันที โดยมีปัจจัยทางด้านยุทธการที่สนับสนุน คือ มีความรวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ และมีความเชื่อถือได้ อีกทั้งยังมีราคาถูก เมื่อเปรียบเทียบกับต่างประเทศที่ใช้ระบบเดียวกัน จึงนับว่ามีความคุ้มค่าและเหมาะสม ทั้เงนี้ คณะกรรมการฯ มีข้อเสนอแนะว่า ควรจะมีการพัฒนาต่อโดยขยายผลเพื่อใช้กับปืนของ นย. รวมทั้งควรมีระบบตรวจสอบคำสั่งยิง โดยการรายงานกลับมาที่ศูนย์อำนวยการยิง

ได้รับโล่ห์และประกาศเกียรติคุณนักวิจัย ของ ทร. ประจำ 2543
โดย พล.ร.อ.ธีระ ห้าวเจริญ ผบ.ทร.
เมื่อ 22 ก.ย.43 ณ ห้องรับรอง ผบ.ทร.
และได้รับมอบประกาศนียบัตร รางวัลผลงานวิจัย ระดับชมเชย จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เมื่อ 27 ก.ย.43