เป้าฝึกปราบเรือดำน้ำ

หน่วยเจ้าของโครงการ

นายทหารโครงการ
ระยะเวลาดำเนินการ กรมอิเล็กทรอนิกส์ทหารเรือ (อล.ทร.)
กรมอู่ทหารเรือ (อร.)
สำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพเรือ (สวพ.ทร.)
พล.ร.ท.ศ.วีรวัฒน์ วงษ์ดนตรี
งป.37-43 (7 ปี)


บทคัดย่อ

โครงการวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์จะสร้างต้นแบบของยานเคลื่อนที่ใต้น้ำ เพื่อใช้ในการฝึกปราบเรือดำน้ำของกองเรือยุทธการ โดยมีลักษณะการเคลื่อนที่คล้ายกับเป้าฝึกปราบเรือดำน้ำที่ผลิตจากต่างประเทศ เป้าฝึกมีน้ำหนักเบากว่าน้ำ มีมอเตอร์กระแสตรงใช้พลังงานจากแบบเตอรี่เป็นตัวขับเคลื่อน มีลักษณะการเคลื่อนที่ใต้น้ำแบบ RANDOM และสามารถปฏิบัติงานได้ต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 90 นาที การวิจัยประสบความสำเร็จระดับหนึ่งแต่ยังมีจุดที่ต้องแก้ไขเพื่อให้เป้าฝึกทำงานอย่างสมบูรณ์

ความเป็นมา

ความยากลำบากของเรือผิวน้ำในการปราบเรือดำน้ำ คือ การค้นหาเรือดำน้ำให้พบในระยะไกล ซึ่งต้องใช้พนักงานโซนาร์ที่มีความชำนาญ ต้องมีการฝึกการค้นหาเรือดำน้ำจนเกิดความเชี่ยวชาญ การฝึกที่ดีที่สุด คือ การนำเรือดำน้ำจริงมาร่วม โดยให้เรือปราบเรือดำน้ำที่เป็นเรือผิวน้ำเข้าทำการค้นหา แต่การใช้เรือดำน้ำจริงเป็นเป้าเป็นการฝึกที่ใช้งบประมาณสูง และถ้ากองทัพเรือใดไม่มีเรือดำน้ำอยู่ในประจำการก็จะไม่มีโอกาสที่จะทำการฝึกได้

ด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงได้มีผู้ผลิตยานใต้น้ำที่มีคุณสมบัติสามารถสะท้อนคลื่นโซนาร์ของเรือผิวน้ำที่เรียกว่า เป้าฝึกปราบเรือดำน้ำ หรือ Mobile Target แล้วนำมาใช้แทนการฝึกด้วยเรือดำน้ำจริง

เป้าฝึกปราบเรือดำน้ำของต่างประเทศเป็นยานที่เคลื่อนที่ใต้น้ำและส่งเสียงออกมารอบตัว เพื่อให้โซนาร์เรือผิวน้ำจับได้ และปรากฎเป็นเป้าในจอโซนาร์เหมือนสถานการณ์การตรวจจับเรือดำน้ำจริง แต่มีข้อเสียสองประการคือ ราคาสูงมาก ราคาเมื่อ 10 ปี ที่ผ่านมาประมาณ 3 แสนบาท ราคาปัจจุบันยังไม่สามารถหาได้ ข้อเสียประการที่สอง คือ เมื่อใช้งานเสร็จแล้วประมาณ 2 ชม. เป้าจะจมลงก้นทะเล

กองทัพเรือ จึงได้มีโครงการวิจัยเพื่อสร้างต้นแบบเป้าฝึกปราบเรือดำน้ำ ที่สามารถนำกลับมาใช้งานได้อีก เมื่อเสร็จการฝึกแล้ว

วัตถุประสงค์ของงานวิจัยโครงการนี้ คือ เพื่อที่จะสร้างต้นแบบเป้าฝึกปราบเรือดำน้ำที่มีคุณลักษณะ คือ

มีความเร็วใต้น้ำ 3-5 นอต และดำน้ำได้ลึกไม่น้อยกว่า 30 เมตร
ทำงานได้ไม่น้อยกว่า 90 นาที
ทำให้เกิดสัญญาณบนจอโซนาร์ของเรือผิวน้ำ ในลักษณะเดียวกับที่เกิดจากการตรวจพบเรือดำน้ำจริง
แล่นสลับฟันปลาในแนวดิ่ง และมีเส้นทางเดินเป็นวงแบบก้นหอย
เมื่อเสร็จสิ้นการฝึกแล้วสามารถเก็บเอามาใช้ได้อีก
เป้าฝึกปราบเรือดำน้ำ เป็นยานที่แล่นใต้น้ำโดยใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ เป็นต้นกำลังหมุนใบจักรและเพื่อให้สามารถเก็บมาใช้งานได้อีก จึงออกแบบให้มีน้ำหนักเบากว่าน้ำ ดังนั้น จึงต้องมี FIN บังคับให้ยานจมลงในน้ำ เมื่อแล่นไปข้างหน้า

ตามความเป็นจริง เป้าฝึกที่วิจัยขึ้นมานี้ สามารถนำไปใช้งานได้ แต่ควรจะแก้ไขข้อบกพร่องบางประการที่อาจเป็นอุปสรรคในการใช้ในการฝึก ก็คือ

ขนาดใหญ่และมีน้ำหนักมาก
สัญญาณที่ปรากฎในจอโซนาร์ของเรืออ่อนไป
การเก็บขึ้นเรือเมื่อเสร็จการฝึกกระทำได้ยาก
ถ้าสามารถแก้ไขปัญหาหลัก ๆ สามข้อข้างต้น เป้าฝึกจะมีคุณสมบัติเท่าเทียมกับคุณสมบัติเบื้องต้นของเป้าฝึกจากต่างประเทศได้เลยทีเดียว

วัตถุประสงค์

เพื่อให้ได้ต้นแบบของเป้าฝึกปราบเรือดำน้ำที่มีคุณลักษณะดังต่อไปนี้

มีความเร็วประมาณ 5 นอต ดำน้ำลึกไม่น้อยว่า 30 เมตร
ทำงานได้นาน 90 นาที
ส่งสัญญาณเสียงในน้ำ ให้ปรากฎบนจอโซนาร์เรือผิวน้ำในลักษณะเดียวกับสัญญาณจากเรือดำน้ำ
แล่นแบบสลับฟันปลาในแนวดิ่ง และมีเส้นทางเดินเป็นวงแบบก้นหอย
เมื่อเสร็จสิ้นการฝึกแล้วสามารถเก็บมาใช้ได้อีก
ประโยชน์ที่ได้รับ

ประโยชน์ทางตรง
กองทัพเรือมีต้นแบบที่สามารถนำไปผลิตเป้าฝึกปราบเรือดำน้ำได้ไม่จำกัดจำนวนโดยไม่ต้อง จัดหาจากต่างประเทศ
การใช้เป้าฝึกปราบเรือดำน้ำที่ผลิตจากต้นแบบของโครงการจะทำให้บุคลากรของกองเรือยุทธการมีความชำนาญสำหรับการปฏิบัติในการปฏิบัติการทางเรือสาขาปราบเรือดำน้ำ
ประโยชน์ทางอ้อม
คณะนักวิจัยได้รับองค์ความรู้ทางวิชาการทุกสาขาที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบและการทดลองเป้าฝึกปราบเรือดำน้ำที่จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาต่อไปในอนาคต
ความสำเร็จของโครงการนำชื่อเสียงมาให้ทั้งคณะนักวิจัยและกองทัพเรือ
ได้รับรางวัลผลงานวิจัยดีเด่น ประจำปี 2544 ระดับชมเชย สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย
ของ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
โดยเข้ารับรางวัลเมื่อ 20 ก.ย.44 ณ ตึกสันติไมตรีทำเนียบรัฐบาล จาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี
และรางวัลนักวิจัยดีเด่น ประจำปี 2545 จากกระทรวงกลาโหม เมื่อ 14 ก.พ.45